การเมือง-การปกครอง


ประมุขแห่งรัฐ นางประติภา เทวีสิงห์ ปาตีล (Pratibha Devisingh Patil)
ประธานราชยสภา (หรือ วุฒิสภา) นายกฤษาณ กันต์ (Krishan Kant) รองประธานาธิบดี ทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง
ประธานสภาผู้แทนราษฎร (หรือ โลกสภา) นายคานตี โมหัน พลโยคี (Ganti Mohana Balayogi) (เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1999)
นายกรัฐมนตรี นายมันโมหัน สิงห์ (Manmohan Singh)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายชสวันต์ สิงห์ (Jaswant Singh), เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1999

โครงสร้างการปกครอง

การปกครอง ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร แต่อำนาจการบริหารที่แท้จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรีอำนาจ การปกครองแบ่งเป็นรัฐต่าง ๆ 25 รัฐ และดินแดนสหภาพของรัฐบาลกลาง (Union Territories) อีก 7 เขต ขณะนี้ (มกราคม 2544) โลกสภาได้เห็นชอบร่างรัฐบัญญัติในการจัดตั้งรัฐใหม่ 3 รัฐ คือ รัฐฉัตติสครห์ (Chattisgarh) รัฐอุตตรานจัล (Uttaranchal) และรัฐฌาร์ขันท์ (Jharkhand) ซึ่งแยกออกจากรัฐมัธยประเทศ รัฐอุตตรประเทศ และรัฐพิหาร ตามลำดับ